ปัญหาผู้ลี้ภัยยังคงเป็นวิกฤตที่โลกเผชิญอย่างต่อเนื่อง และประเทศหนึ่งที่เผชิญปัญหานี้อย่างหนักคืออิตาลี โดยปรากฎภาพของผู้อพยพส่วนหนึ่งที่เข้ามาพักอาศัยในค่ายผู้อพยพบนเกาะลัมเปดูซา เกาะเล็กๆ ทางตอนใต้ประเทศอิตาลี ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนผู้อพยพเดินทางมาที่เกาะแห่งนี้เป็นจำนวนมาก จนศูนย์ผู้ลี้ภัยไม่สามารถรองรับได้เพียงพอ ผู้สูงอายุ ผู้หญิง และเด็กหลายคน ต้องนอนบนเตียงสนามแทนเต้นท์
ผู้อพยพไนจีเรียเสี่ยงตาย แอบนั่งหางเสือเรือ 14 วัน โผล่บราซิล
เรือผู้อพยพล่มนอกชายฝั่งกรีซ ตาย 79 สูญหายหลายร้อย คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
สำนักข่าวบีบีซีระบุว่าในช่วงเวลาไม่ถึง 3 วัน มีผู้ลี้ภัยอพยพมายังเกาะลัมเปดูซามากกว่า 8,500 คนแล้ว เป็นจำนวนที่มากกว่าประชากรที่อาศัยอยู่บนเกาะและเกินขีดจำกัดที่ศูนย์รับรองผู้อพยพบนเกาะแห่งนี้ออกแบบมาให้รับรองได้ อีกทั้งยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาอาหารและน้ำไม่เพียงพอ
ที่ผ่านมา เกาะลัมเปดูซาเป็นเกาะที่ต้องเผชิญกับคลื่นผู้อพยพที่เดินทางเข้ามาตลอดทั้งปี อย่างไรก็ตามสถานการณ์บนเกาะในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ถือว่าอยู่ในระดับวิกฤต เนื่องจากจำนวนผู้อพยพอาจมากเกินกว่าที่เกาะลัมเปดูซาจะรับไหว
ผู้แทนสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติระบุเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า นี่เป็นสถานการณ์ที่อันตรายและต้องมีมาตรการเร่งด่วนที่ช่วยให้สถานการณ์บนเกาะกลับสู่สภาวะปกติ
ผู้อพยพเดินทางมาจากไหน และอะไรคือสาเหตุที่ผู้อพยพใช้เส้นทางผ่านเกาะลัมเปดูซาเพื่ออพยพต่อไปยังพรมแดนของสหภาพยุโรป
ปีที่ผ่านมา มีผู้อพยพเดินทางเข้ามาทางอิตาลีราว 126,000 คนแล้ว ซึ่งมากกว่าจำนวนผู้อพยพที่เดินทางเข้ามายังอิตาลีในปี 2022 ถึงหนึ่งเท่าตัวส่วนมากผู้ลี้ภัยเหล่านี้เดินทางมาจากประเทศที่ขึ้นชื่อว่าเป็นต้นทางของการอพยพอย่างตูนิเซียและลิเบีย ซึ่งมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ใกล้อิตาลี โดยมีเพียงแค่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกั้นเท่านั้น
นี่คือแผนที่แสดงเส้นทางที่ผู้อพยพส่วนใหญ่มักใช้เพื่อออกจากทวีปแอฟริกามายังอิตาลี ก่อนมุ่งหน้าไปสู่ประเทศอื่นๆ ในทวีปยุโรปส่วนใหญ่แล้วบรรดาผู้ลี้ภัยจะมุ่งหน้าไปขึ้นเรือผู้อพยพในเมืองสแฟกซ์ เมืองท่าทางตะวันออกของประเทศตูนิเซีย ประเทศเล็กๆ ในทวีปแอฟริกาเหนือ ก่อนที่จะล่องเรือข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเพื่อมุ่งหน้าไปยังพื้นที่ทางตอนใต้ของประเทศอิตาลี
โดยเมืองสแฟกซ์มีที่ตั้งอยู่ห่างออกไปจากเกาะลัมเปดูซาไปเพียงราว 130-160 กิโลเมตรเท่านั้น ส่วนเกาะลัมเปดูซาก็อยู่ไม่ห่างจากเกาะซิซิลี ซึ่งจะเป็นเส้นทางต่อไปสู่อิตาลีแผ่นดินใหญ่นอกจากเมืองสแฟกซ์แล้ว ลิเบียก็เป็นอีกประเทศต้นทางของผู้อพยพ เพราะมีชายฝั่งติดทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเช่นเดียวกับตูนิเซียด้วยพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ใกล้แอฟริกาเหนือ เกาะลัมเปดูซาจึงเป็นจุดแรกของการอพยพเข้าสู่พรมแดนสหภาพยุโรป ทั้งนี้สาเหตุที่ผู้ลี้ภัยชาวแอฟริกาต้องยอมอพยพอย่างผิดกฎหมายเข้าสู่อิตาลีจนกลายเป็นวิกฤตรุนแรงนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะปัญหาเรื้อรังหลายด้านภายในทวีป โดยเฉพาะในตูนิเซียและลิเบียเอง
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สองประเทศดังกล่าวเป็นประเทศที่ประสบปัญหาความวุ่นวาย การเมืองไร้เสถียรภาพ สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ปัญหาความยากจนและปัญหาความขาดแคลน ขณะที่ลิเบียเพิ่งประสบวิกฤตน้ำท่วมใหญ่ไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาประชาชนชาวแอฟริกาเหนือจึงต้องอพยพเพื่อเอาชีวิตรอดและแสวงหาโอกาสที่ดีกว่าในยุโรป แม้ว่าจะต้องยอมเสี่ยงชีวิตขึ้นเรือของขบวนการค้ามนุษย์เพื่อให้ได้ข้ามไปยังพรมแดนยุโรปก็ตาม
องค์กรระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่น หรือ IOM ระบุว่า ผู้อพยพจำนวนมากเข้ามายังเกาะลัมเปดูซาได้จากการช่วยเหลือของทางการอิตาลีและองค์กรด้านมนุษยธรรม มากกว่าที่เรือลักลอบขนผู้อพยพจะแล่นมาถึงชายฝั่งอย่างปลอดภัยเอง
ตัวแทนข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติประจำอิตาลี โฮลีซี และซานมาริโน ได้มีคำสั่งให้ขนย้ายผู้ลี้ภัยราว 5,000 คนไปยังเกาะซิซิลีและอิตาลีแผ่นดินใหญ่แล้ว นอกเหนือจากความพยายามขนย้ายผู้อพยพจากเกาะลัมเปดูซาไปยังพื้นที่อื่นๆ แล้ว ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปและนายกรัฐมนตรีอิตาลีก็ได้เดินทางไปยังเกาะลัมเปดูซาเพื่อหาวิธีจัดการปัญหาร่วมกัน โดยประธานคณะกรรมาธิการยุโรปได้เสนอร่างแผนปฏิบัติการให้กับอิตาลี
EU เสนออิตาลีเปิดเส้นทางอพยพถูกกฎหมายจัดการปัญหาผู้อพยพ
ร่างดังกล่าวมีชื่อว่า “10-point action plan for Lampedusa” หรือแผนปฏิบัติการ” 10 ข้อสำหรับเกาะลัมเปดูซา โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยรัฐบาลอิตาลีจัดการกับปัญหาผู้ลี้ภัยที่หลั่งไหลมาจากแอฟริกาเหนือ โดยส่วนหนึ่งของแผนดังกล่าวคือการเสนอให้ส่งเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานลี้ภัยแห่งสหภาพยุโรป หรือ EUAA และหน่วยชายแดนและยามฝั่งของยุโรป หรือ Frontex ไปยังอิตาลี เพื่อดูแลปัญหาผู้ลี้ภัย
ขณะเดียวกันก็จะส่ง มาร์การิติส ชินาส รองประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ไปยังประเทศต้นทางของผู้อพยพ เพื่อเจรจาวิธีการจัดการการย้ายถิ่นฐานและการส่งตัวกลับประเทศต้นทาง ระหว่างการเยือน ประธานคณะกรรมาธิการอียูและนายกรัฐมนตรีอิตาลีได้แถลงข่าวร่วมกันโดยจอร์เจีย เมโลนี นายกรัฐมนตรีของอิตาลีระบุว่า อนาคตของยุโรปขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดการปัญหาผู้ลี้ภัยที่เกาะลัมเปดูซาแห่งนี้
ขณะที่ประธานคณะกรรมาธิการยุโรประบุว่า การอพยพอย่างผิดปกติถือเป็นความท้าทายของสหภาพยุโรป และจำเป็นต้องได้รับการตอบสนองด้วยวิธีการแบบสหภาพยุโรป พร้อมกล่าวว่ามาตรการที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการตอบโต้ผู้ลักลอบขนผู้ลี้ภัยอย่างผิดกฎหมายคือ การเปิดเส้นทางอพยพตามกฎหมายและการเปิดระเบียงมนุษยธรรม
"ผลสอบ ก.พ.66” รอบ Paper & Pencil ประกาศแล้ว เช็กรายชื่อได้ ที่นี่ !
ผลวอลเลย์บอลหญิงไทย สุดต้านแพ้ สหรัฐอเมริกา 0-3 นัดสองศึกคัดเลือกโอลิมปิก 2024
เปิดสถิติหวยออกย้อนหลัง 15 ปี งวด 1 ตุลาคม