ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เปิดใช้อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่1 หรือ SAT-1 แบบ Soft Opening เป็นวันแรก โดยในช่วง 1 เดือนแรก มีสายการบินร่วมทดลองให้บริการ 2 สายการบิน ได้แก่ สายการบินแอร์เอเชียเอ็กซ์ และ ไทยเวียตเจ็ท

ราคาน้ำมันดิบพุ่ง 3% รับสต๊อกสหรัฐฯวูบหนักเกินคาด จับตาประชุมโอเปก 4 ต.ค.66

เสียงสะท้อน "พักหนี้" เกษตรกรขอขยายเพดานร่วมมาตรการ

เพิ่มความสามารถในการรองรับผู้โดยสาร เพิ่มขึ้นอีก 15 ล้านคนต่อปี จากเดิมอาคารผู้โดยสารหลัก รองรับได้ 45 ล้านคนต่อปี รวมเป็น 60 ล้านคนต่อปี มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 250,000 ตารางเมตร มี 28 หลุมจอด

โดย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เดินทางไปเปิดให้บริการ พร้อมระบุว่า การเปิดให้บริการอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (Satellite 1: SAT-1) จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิให้สามารถรองรับผู้โดยสารและเที่ยวบินที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ควบคู่ไปกับการที่จะเปิดรันเวย์ที่ 3 ที่จะเกิดขึ้นในกลางปี 2567

ด้าน นายกีรติ กิจมานะวัฒน์ ผู้อำนวยการใหญ่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)หรือ ทอท. เปิดเผยว่า อาคาร SAT-1 มีเที่ยวบิน รวมขาเข้าและออกรวม 19 เที่ยวบิน ซึ่งผู้โดยสารลงจากเครื่องเข้ามาที่เกท จนถึงอาคารผู้โดยสารหลัก ใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 18 นาที และภายในเดือน พฤศจิกายนเป็นต้นไปจะมีการเพิ่มจำนวนสายการบินที่ให้บริการที่อาคาร SAT-1 เพิ่มมากขึ้นคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

อาคาร SAT-1 จะเชื่อมระหว่างอาคารผู้โดยสารหลัก ด้วย รถ APM เป็นรถไฟฟ้าไร้คนขับแห่งแรกของไทย รวมทั้งมีระบบขนส่งกระเป๋าด้วยความเร็วสูงขนส่งกระเป๋าจากอาคารผู้โดยสารหลักมายังอาคาร SAT-1

นอกจากนี้มีการใช้ ระบบ Self Check In ลดปัญหาการต่อแถวให้บริการ และในเดือนธันวาคมนี้ จะมีการนำระบบ ไบโอเมทริกซ์ เป็นระบบจดจำใบหน้าของผู้โดยสารมาใช้ช่วยลดกระบวนการในการต่อแถวเพื่อแสดงเอกสาร

ขณะเดียวกันยังเตรียมเปิดใช้รันเวย์เส้นที่ 3 เพิ่มการรองรับเที่ยวบินจาก 64 เที่ยวบินต่อชั่วโมง เป็น 94 เที่ยวบินต่อชั่วโมง

อย่างไรก็ตาม เตรียมเสนอแผนการพัฒนาท่าอากาศยานบินภูเก็ต ระยะที่ 2 ต่อนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อเพิ่มศักยภาพของท่าอากาศยานภูเก็ต จาก 12 ล้านคนต่อปี เป็น 18 ล้านคนต่อปี โดยจะเสนอโครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ มูลค่าการก่อสร้าง 8,000 ล้าน เป็นอาคารสำหรับผู้โดยสารระหว่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีความแออัด เพิ่มขนาดพื้นจาก 80,000 ตารางเมตรให้เป็น 160,000 ตารางเมตร คาดว่าจะเริ่มการก่อสร้างภายในปี 68 ใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 3 ปี

รวมถึงรับโอนท่าอากาศยานกระบี่ จากกรมท่าอากาศยาน จะทำให้สามารถจัดการห่วงอากาศร่วมกันกับสนามบินภูเก็ต และยังมีแผนเสนอโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานอันดามัน ที่บริเวณโคกกลอย จังหวัดพังงา ซึ่งจะรองรับผู้โดยสารได้ 22 ล้านคนต่อปี สร้างให้เป็นท่าอากาศยานนานาชาติ เพื่อรองรับความเติบโตการเดินทางของผู้โดยสารระหว่างประเทศ ในพื้นที่ฝั่งอันดามัน

 พาชมบรรยากาศ "สุวรรณภูมิ" เปิดใช้อาคาร SAT-1

By admin