66 ล้านปีที่แล้ว ยุคไดโนเสาร์สิ้นสุดลงหลังอุกกาบาตพุ่งลงมาชนโลก กระนั้น การพุ่นชนดังกล่าวก็ไม่ใช่สาเหตุโดยตรงที่ทำให้สิ่งมีชีวิตกว่า 75% บนโลกรวมถึงไดโนเสาร์ต้องสูญพันธุ์ไป แต่เป็นสิ่งที่เกิดหลังจากนั้นต่างหาก
การที่อุกกาบาตชนโลก ทำให้สภาพแวดล้อมบนโลกเปลี่ยนแปลงไป เกิดไฟป่า ภูเขาไฟระเบิด และกำมะถันปริมาณมหาศาล เหล่านี้ล้วนสามารถทำให้สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ได้ทั้งสิ้น แต่ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ยังไม่พบคำตอบที่ชัดเจน และได้แต่ตั้งสมมติฐานต่าง ๆ นานาว่า จริง ๆ แล้วไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปเพราะอะไรกันแน่
นักวิทย์พบ ก๊าซภายใน “แก่นโลก” กำลังรั่วไหลออกมา!?
มรดกจากอะพอลโล 17 เผย “ดวงจันทร์” มีอายุเก่าแก่กว่าที่คาดไว้ 40 ล้านปี
ตรวจพบคลื่นวิทยุจากอวกาศ ที่ใช้เวลา 8 พันล้านปีกว่าจะมาถึงโลก!
หนึ่งในผู้ที่ต้องการหาคำตอบนั้นคือทีมวิจัยจากเบลเยียม ซึ่งตั้งข้อสังเกตว่า อีกสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นหลังอุกกาบาตชนโลก ที่ถูกมองข้ามไปตลอดเวลาที่ผ่านมา และมีศักยภาพที่จะก่อให้เกิด “กลไกการล้างบางสิ่งมีชีวิต” ได้ นั่นก็คือ “ฝุ่นปริมาณมหาศาลนับล้านล้านตัน”
ทีมวิจัยระบุว่า เขม่า กำมะถัน และฝุ่น ที่หมุนวนอยู่ในชั้นบรรยากาศโลกมานานหลายปี ล้วนมีความสามารถในการบดบังแสงแดด และทำให้เกิดฤดูหนาวทั่วโลก พืชพรรณไท่สามารถเติบโตได้เต็มที่ ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสัตว์ที่ยังมีชีวิตอยู่
เพื่อเจาะลึกถึงบทบาทของปัจจัยต่าง ๆ ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการจำลองสภาพอากาศโลกโบราณ โดยคำนึงถึงการตรวจวัดอนุภาคละเอียดที่เก็บได้จากพื้นที่ในมลรัฐนอร์ธดาโกตา ซึ่งเป็นที่ที่ชั้นฝุ่นที่เกิดจากอุกกาบาตชนโลกจับตัวอยู่
ตามการจำลองด้วยคอมพิวเตอร์ หากมีอุกกาบาตตกลงในพื้นที่บริเวณดังกล่าว จะทำให้ฝุ่นปริมาณขนาดที่พบในดาโกตาอาจคงอยู่ในชั้นบรรยากาศได้นานถึง 15 ปี รวมน้ำหนักมากกว่า 2 ล้านล้านตัน ปิดกั้นแสงดวงอาทิตย์และทำให้พืชไม่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้เป็นเวลาเกือบ 2 ปี และทำให้โลกลงได้ถึง 15 องศาเซลเซียส
เซม เบิร์ก เซเนล นักวิจัยจากหอดูดาวหลวงแห่งเบลเยียมในกรุงบรัสเซลส์ เปิดเผยว่า ฝุ่นที่เกิดขึ้นจากหินแกรนิตและหินอื่น ๆ ที่ถูกอุกกาบาตบดขยี้ตอนที่พุ่งชน น่าจะเป็นสาเหตุให้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ จากการทำให้การสังเคราะห์แสงของพืชหยุดชะงัก
ฟิลิปป์ เคลย์ส นักธรณีวิทยาและนักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์จากมหาวิทยาลัย Vrije Universiteit Brussel หนึ่งในทีมวิจัย เสริมว่า ในการจำลอง ฝุ่นเป็นตัวขัดขวางการสังเคราะห์ด้วยแสงที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด “มันทำให้บรรยากาศโลกทึบแสง ขัดขวางกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช”
ตามแบบจำลองของคอมพิวเตอร์ อาจต้องใช้เวลาถึง 2 ปีกว่าที่การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชจะกลับมาทำงานได้ตามปกติอีกครั้ง
ขณะที่ สตีฟ บรูแซตต์ ศาสตราจารย์ด้านบรรพชีวินวิทยาและวิวัฒนาการจากมหาวิทยาลัยเอดินบะระ ซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมในการศึกษาวิจัยนี้ กล่าวถึงอุกกาบาตที่ฆ่าไดโนเสาร์ว่าเป็น “หายนะ”
เขากล่าวว่า “มันเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ใหญ่ที่สุดที่พุ่งชนโลกในช่วงครึ่งพันล้านปีที่ผ่านมา พลังของมันเทียบเท่ากับระเบิดนิวเคลียร์มากกว่าพันล้านลูกรวมกัน แต่นั่นไม่ใช่สาเหตุจริง ๆ ที่ฆ่าไดโนเสาร์และสิ่งมีชีวิต 75% บนโลก”
บรูแซตต์บอกว่า “สิ่งที่ขับเคลื่อนหายนะจริง ๆ คือสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น เมื่อฝุ่นและสิ่งสกปรกที่เกิดจากแรงกระแทกของอุกกาบาตชนโลกลอยสู่ชั้นบรรยากาศและบดบังดวงอาทิตย์ โลกมืดและเย็นไป 2-3 ปี ดาวเคราะห์น้อยไม่ได้ฆ่าไดโนเสาร์ทั้งหมดในคราวเดียว แต่เป็นนักฆ่าที่แยบยลมากกว่านั้น ซึ่งก่อให้เกิดการล้างบางที่ทำให้ 3 ใน 4 ของสิ่งมีชีวิตต้องตาย”
เรียบเรียงจาก The Guardianคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ภาพจาก Shutterstock
ตารางเชียร์ “แอนโทเนีย โพซิ้ว” ชิงมงกุฎ Miss Universe 2023 ลุ้น! รอบตัดสิน (Final) เช้า 19 พ.ย.นี้
เปิดปฏิทิน “เงินสงเคราะห์บุตร 2566” เช็กเลยเข้าบัญชีวันไหนบ้าง
"เมสซี่"คนเดียวจ่อทุบสถิติชาติคว้ารางวัลบัลลงดอร์มากที่สุด